การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นปัญหาทั่วโลก และประเทศไทย ประมาณว่าอาจจะมากถึงหนึ่งในสามของประชากรจะเป็นเบาหวาน สำหรับกลุ่มเสี่ยงจะมีอัตราการเกิดเบาหวานร้อยละ 50 เมื่อเป็นเบาหวานแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ทั้งหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ โรคไต หลอดเลือดขา และตา ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

ชนิดของเบาหวาน

เป้าหมายของการรักษา

ผลการออกกำลังกายต่อร่างกายในขณะออกกำลังกาย(หากท่านไม่สนในกลไกก็ข้ามไปได้)

การใช้พลังงานในขณะออกกำลังกาย

น้ำตาลในเลือดของคนเราจะคงที่เนื่องจากมีความสมดุลของการสร้าง และการใช้พลังงาน การใช้พลังงานของกล้ามเนื้อขึ้นกับระยะเวลา และความหนักของการออกกำลังกาย ในระยะเริ่มต้นของการออกกำลังกายร่างกายจะใช้พลังงานจาก glycogen ไขมันในกล้ามเนื้อ หากเราออกกำลังกายนานจนกระทั่ง glycogen และไขมันที่สะสมในกล้ามเนื้อหมดไป กล้ามเนื้อจึงใช้น้ำตาล และกรดไขมัน free fatty acid(FFA)ในกระแสเลือด มาเป็นพลังงาน ในช่วงแรกของการออกกำลังตับทำหน้าที่สลาย glycogen หากเราออกกำลังนานๆตับจะสร้างน้ำตาลในเลือดจากกระบวนการ gluconeogenesis

กลไกการใช้น้ำตาลของกล้ามเนื้อมีอยู่สองกลไก

  • ผ่านทาง insulin กล่าวคือในขณะพักหรือหลังรับประทานอาหาร น้ำตาลจะเข้าเซลล์กล้ามเนื้อทางกลไกอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานซึงมีปัญหาเรื่อง insulin resistant จึงไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าเซลล์ได้อย่างเต็มที่
  • กลไกที่สองผ่านทางglucose transporter proteins ตัวกลักคือ glucose transporter 4 (GLUT4) ซึ่งกระตุ้นโดยอินซูลิน และการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ดันั้นเมื่อเราออกกำลังกาย กล้ามเนื้อมีการบีบตัวจะเป็นการเพิ่มการเข้าเซลล์ของน้ำตาลโดยไม่ต้องอาศัยอินซูลิน

ระดับน้ำตาลหลังการออกกำลังกายเป็นอย่างไร

การออกกำลังกายที่มีความหนักปากกลางและออกนานพอจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และอินซูลินออกฤทธิ์ดีขึ้น และมีความเสี่ยงต่อน้ำตาลในเลือดต่ำน้อย น้อยเสียจากว่ามีการฉีดอินซูลินหรือได้รับยาที่กระตุ้นการผลิตของอินซูลิน การออกกำลังกายอย่างหนักในช่วงแรกอาจจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากมีฮอร์โมน cathecholamin หลั่งเพื่อเพิ่มการสร้างกลูโคส

การออกกำลัง resistant exercise(ตัวอย่างเช่นการยกน้ำหนัก โยคะ ไทเก็ก)

มีการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลลงได้หลังออกกำลัง 24 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลที่ลดลงขึ้นกับระยะเวลาที่ออก และความหนักของการออกกำลัง หากออกกำลังแบบ aerobic ร่วมกับ resistant exercise จะทำให้คุมระดับน้ำตาลได้ดีกว่าการออกกำลังแบบใดแบบหนึ่ง

ผลการออกกำลังกายต่อภาวะดื้ออินซูลิน insulon resistant

การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อนำน้ำตาลในกระแสเลือดมาสร้างเป็น glycogen สะสมในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะลดลง น้ำคาลในเลือดจะลดมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ

การออกกำลังกายจะทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นเป็นเวลา 2-72 ชั่วโมงซึ่งขึ้นกับภาวะดังกล่าวข้างต้น นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังลดปริมาณไขมันที่จะไปสะสมที่ตับซึ่งช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน

   

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย | การประเมินก่อนออกกำลังกาย | วิธีออกกำลังกาย | อาหารและการออกกำลังกาย | การออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน | ผลออกกำลังในระยะยาว | การตรวจหัวใจก่อนออกกำลัง | ออกกำลังกายในผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง