หลักการกำหนดอาหารผู้ป่วยเบาหวาน

ปริมาณพลังงานที่ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับขึ้นอยู่กับ ขนาดของผู้ป่วย อ้วน ผอม ปกติ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถทราบอ้วนหรือไม่จากการคำนวณข้างต้น(น้ำหนัก/(สูง)²) ซึ่งสามารถคำนวณโดยคลิกที่นี่ หลังจากนั้นพิจารณาจากพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตารางข้างล่างจะแสดงปริมาณพลังงานที่ควรได้รับ

โรคเบาหวาน

การคำนวณปริมาณแคลอรี

ในการคำนวณปริมาณพลังงานท่านจะต้องทราบน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อที่จะทราบดัชนีมวลกายของท่าน ซึ่งจะทราบโดยการคำนวณคลิกที่นี่ หรือจากการดูตารางคลิกที่นี่ เมื่อได้ดัชนีมวลกายก็จะทราบว่าท่านอ้วนหรือไม่

ดัชนีมวลกายของคนปกติ เท่ากับ 18-23

ดัชนีมวลกายของน้ำหนักเกินเท่ากับ 23-25

ดัชนีมวลกายของคนอ้วนมากกว่า 25

ดัชนีมวลกายของคนผอมน้อยกว่า 18

เมื่อจัดกลุ่มว่าอ้วนหรือผอมก็มาคำนวณหาพลังงานที่ใช้ โดยดูจากความอ้วน กิจกรรมที่ใช้ในแต่ละวันดังแสดงในตารางข้างล่าง

  กิจกรรมน้อย

กิโลแคลอรี/น้ำหนัก 1 กก
กิจกรรมปานกลาง

กิโลแคลอรี/น้ำหนัก 1 กก
กิจกรรมมาก

กิโลแคลอรี/น้ำหนัก 1 กก
อ้วน 20 25 30
ปกติ 25 30 40
ผอม 30 35 45

พลังงานที่ใช้ในกิจกรรมแบ่งเป็น น้อย ปานกลาง มาก  BMI>25จัดว่าอ้วน   BMI<18.5 จัดว่าผอม พลังงานเป็น kcalต่อน้ำหนัก 1กก.

เมื่อคำนวณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน จึงไปคำนวณว่าควรเป็น carbohydrate, protein ,fat เป็นจำนวนเท่าใด เช่นผู้ป่วยเบาหวานรายหนึ่งสูง 150 ซม.หนัก 75 กิโลกรัม กิจกรรมส่วนใหญ่นั่งๆนอนๆไม่ได้ออกกำลังกาย   BMI=75/ [1.5]²=30 จัดว่าอ้วนหรือนำค่าส่วนสูงและน้ำหนักไปหาค่า BMIจากตาราง กิจกรรมประจำวันจัดว่าน้อยดังนั้นพลังงานที่ควรได้รับ=20*75=1500 kcal จัดแบ่งอาหารออกเป็น 4มื้อโดยการเปิดตารางดูว่าแต่ละวันและแต่ละมื้อควรรับประทานสารอาหารประเภทใดจำนวนเท่าใดได้จากตารางอาหารหรือท่านผู้อ่านอาจดูได้จากเมนูท้ายหน้านี้ ในการแปลงพลังงานที่ได้ให้เป็นปริมาณอาหารเราสามารถทราบปริมาณอาหารได้จากตารางอาหารแลกเปลี่ยน

อาหารอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยต้องเรียนรู้ว่าอาหารชนิดใดรับประทานได้ และควรรับประทานเท่าใดน้ำตาลในเลือดจึงไม่สูง อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องทราบแบ่งเป็น

  1. อาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเร็ว ผู้ป่วยควรงดหรือหลีกเลี่ยงได้แก่  อาหารจำพวกน้ำตาลทุกชนิด น้ำหวาน ขนมหวาน นมข้นหวาน ไมโล โอวัลติน ลูกอมชนิดต่างๆ ผลไม้หวานๆ เช่น น้อยหน่า มังคุด ลำไย อ้อย มะม่วง ทุเรียน ขนุน ผลไม้เชื่อม เช่น มะม่วงกวน กล้วยเชื่อม มะขามแช่อิ่ม น้ำผลไม้ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำผึ้ง น้ำตาลสด น้ำลำไย ผลไม้บรรจุกระป๋อง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา นมข้นหวาน น้ำผลไม้ อาหารเชื่อม ลอดช่อง เค้ก ช็อกโกแลต  ไอสครีม  และขนมหวานอื่นๆ ถ้าดื่มกาแฟหรือน้ำอัดลมควรใส่น้ำตาลเทียมแทน หรือกาแฟดำ ถ้าดื่มนมควรเป็นนมจืด
  2. อาหารที่รับประทานได้ แต่ต้องจำกัดจำนวน ถ้ารับประทานจำนวนมากจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง(ปริมาณที่กำหนดดูในรายการอาหารแลกเปลี่ยน) ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่างๆ ข้าว แป้ง ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง บะหมี่ วุ้นเส้น เผือก มัน ฟักทอง ควรรับประทานอาหารที่มีใยมาก ควรได้รับ 40 กรัม/วัน
  3. อาหารที่รับประทานได้ ได้แก่ ผักชนิดต่างๆ ชา กาแฟที่ไม่เติมน้ำตาล กระเทียม พริกไทย มะนาว
   

การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง 

การกำหนดอาหารผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีน้ำหนักมากกว่าปกติ

การกำหนดอาหารผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีน้ำหนักปกติ

การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง

รายการอาหารที่ให้พลังงาน 1000 กิโลแคลอรี

รายการอาหารที่ให้พลังงาน 1200 กิโลแคลอรี

รายการอาหารที่ให้พลังงาน 1500 กิโลแคลอรี

รายการอาหารที่ให้พลังงาน 1800 กิโลแคลอรี

รายการอาหารที่ให้พลังงาน 2000 กิโลแคลอรี

รายการอาหารที่ให้พลังงาน 2500 กิโลแคลอรี

แนวทางการรับประทานอาหาร

การคำนวณปริมาณพลังงาน  ปริมาณอาหารที่รับประทานได้ในแต่ละวัน ตารางหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ดัชนีน้ำตาล แนวทางการรับประทานอาหาร

การควบคุมอาหาร

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง