ยาเม็ดรักษาเบาหวานชนิดรับประทาน

ยารักษาน้ำตาลจะออกฤทธฺิ์ต่างกันการเลือกใช้ยาอย่างถูกต้องจะลดโรคแทรกซ้อนจากยา และให้ผลการรักษาดี

ตารางเปรียบเทียบผลของยาเม็ดลดน้ำตาลในการรักษาเบาหวาน

ตารางเปรียบเทียบทางคลินิกของยาเม็ดลดน้ำตาล

ชนิดของยา ตำแหน่งออกฤทธิ์ ผลต่อน้ำตาล FPG ที่ลด (มก.%) HbA1cที่ลด (%)
Acarbose ลำไส้เล็ก น้ำตาลหลังอาหาร 16-20 0.5-1
Metformin ตับ และลำไส้ ลดน้ำตาลตอนเช้า และน้ำตาลทั้งวัน 58 1-2
Repaglinide เบตาเซลล์ น้ำตาลหลังอาหารและน้ำตาลหลังอาหาร   1-2
Sulfonylurea เบตาเซลล์ ลดน้ำตาลตอนเช้า และน้ำตาลทั้งวัน 50-60 1-2
Troglitazone กล้ามเนื้อ และไขมัน ลดน้ำตาลตอนเช้า และน้ำตาลหลังอาหาร 25-40 0.5-1.5

ท่านควรจะมีความรู้เรื่องยาที่รับประทานอะไรบ้าง

  • ทราบชื่อยาและขนาดที่ท่านรับประทาน หากไม่ทราบชื่อยาก็ควรจะทราบลักษณะรูปร่าง สีของเม็ดยา เมื่อเวลาเจ็บป่วยควรจะแจ้งแพทย์ว่าท่านกำลังรับประทานยาลดน้ำตาลอยู่ วิธีที่ดีที่สุดคือให้แพทย์ที่รักษาเบาหวานให้ท่านจดชื่อยาไว้ในสมุดประจำตัวของท่าน
  • ทราบกลไกการออกฤทธิ์ของยา ทราบว่าควรจะรับประทานเวลาใดยาจึงออกฤทธิ์ได้สูงสุด และมีผลข้างเคียงอย่างไร
  • ทราบขนาดสูงสุดของยา การเพิ่มยาด้วยตัวเองอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
  • ทราบผลข้างเคียงของยา โดยเฉพาะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและวิธีแก้ไข
  • ทราบข้อห้ามในการใช้ยา

ข้อห้ามทั่วไปในการใช้ยาเบาหวานชนิดรับประทาน
  • เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  • ภาวะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • อยู่ระหว่างการผ่าตัดใหญ่
  • ภาวะติดเชื้อ,เครียด,หรือได้รับอุบัติเหตุที่รุนแรง
  • ผู้ป่วยที่มีโรคตับหรือโรคไต

เมื่อรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • รับประทานอาหารให้สม่ำเสมอ และตรงต่อเวลา
  • รับประทานยาตามมื้อที่แพทย์สั่ง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
  • ควรทราบผลข้างเคียงของยาโดยสอบถามจากแพทย์หรือศึกษาจากคู่มือในการใช้ยา เมื่อสงสัยว่าจะเกิดอาการแพ้ยาควรปรึกษาแพทย์
  • ควรแจ้งแพทย์ว่ามีประวัติแพ้ยาอะไรบ้าง
  • ควรทราบวิธีแก้ไขเมื่อมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ทราบวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเวลาเจ็บป่วย
  • หากการควบคุมน้ำตาลยังไม่ดีควรจะเจาะน้ำตาลปลายนิ้วที่บ้าน

วิธีป้องกันมิให้ลืมรับประทานยา

  • รับประทานยาเวลาเดียวกันทุกวัน
  • รับประทานยาเวลาเดียวกับยาอื่นๆที่ใช้อยู่ หรือสัมพันธ์กับกิจกรรมอื่น เช่นหลังแปรงฟัน
  • เก็บยาไว้ในที่มองหาง่ายและหยิบง่าย ไม่ต้องแช่เย็น
  • ให้ความสนใจมื้อที่มักลืมเสมอ
  • แบ่งขนาดยาเป็นมื้อๆต่อวัน

ถ้าลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร

หากลืมรับประทานยา 1-2 ชั่วโมงก็ให้รับประทานยามื้อนั้น ยกเว้นยากลุ่ม Acarbose หากจำได้เมื่อถึงยามื้อต่อไปก็ไม่ต้องเพิ่มยา

ถ้าวันไหนรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ สามารถเพิ่มยารับประทานได้หรือไม่

โดยปกติมักจะแนะนำให้รับประทานอาหารในปริมาณที่สม่ำเสมอ ไม่ควรรับประทานมากเมื่ออาหารถูกปาก หรือลดปริมาณอาหารเมื่ออาหารไม่ถูกปากเพราะจะทำให้การควบคุมเบาหวานยาก มีการแกว่งของระดับน้ำตาล ดังนั้นเราไม่สามารถรับยาเพิ่ม นอกเสียจากยากลุ่ม Repaglinideซึ่งออกฤทธ์เร็วอาจจะปรับขนาดยาตามปริมาณอาหารที่รับประทาน

ถ้าหากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาควรทำอย่างไร

ไม่ควรปล่อยให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนเช่นน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไป ในกรณีที่สุดวิสัยอาจจะต้องเตรียมตัว เช่นพกนมไว้ 1 กล่องดื่มขณะที่รถติดไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามเวลา อาจจะใช้ยา Repaglinide เป็นตัวเลือกเพราะยาตัวนี้จะรับประทานก่อนอาหาร 15 นาทีจะแก้ปัญหาเรื่องรับประทานไม่เป็นเวลาได้

กรณีเจ็บป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ต้องหยุดยาหรือไม่

กรณีที่ร่างกายเราเจ็บป่วยจะเกิดความเครียด ระดับน้ำตาลมักจะสูงดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหยุดยา หากรับประทานอาหารตามปกติไม่ได้อาจจะรับประทานซุป น้ำผลไม้ ขนมปังแทน

คนที่เป็นเบาหวานหากตั้งครรภ์จะทำอย่างไร

หากท่านเป็นเบาหวานรับประทานยาเม็ดอยู่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ท่านต้องรีบรายงานแพทย์โดยด่วนเพื่อแพทย์จะได้เปลี่ยนยารับประทานเป็นอินซูลิน เนื่องจากยารับประทานอาจจะไหลผ่านจากรกไปสู่ลูกคุณได้ เมื่อคลอดบุตรแล้วอาจจะให้ยารับประทานใหม่

ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือด 126-140 มก.%จะใช้ยาอะไรดี

จากตารางจะเป็นแนวทางการเลือกใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล หากผู้ป่วยมี HbA1c สูงเล็กน้อยและ น้ำตาลหลังอดอาหาร[fasting blood sugar]อยู่ระหว่าง 126-140 มก.% ให้เลือกใช้ acrbose ผู้ป่วยกลุ่มนี้หากเป็นคนอ้วนให้ใช้ Metformin แทน แต่ถ้าสงสัยว่าจะมี insulin resistant โดยตรวจพบว่ามี central obesity คือมีอัตราส่วนของรอบเอวต่อรอบสะโพกมากกว่า 1 หรือ 0.8 ในชายและหญิงตามลำดับให้ใช้ Troglitazone

ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือด >140 มก.%จะใช้ยาอะไรดี

ให้ใช้กลุ่ม sulfonylurea โดยเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำ ถ้าน้ำตาลมากกว่า 250 มก.%ให้เริ่มยาครั้งละ 1 เม็ด ถ้า น้ำตาลมากว่า200 มก.% HbA1c>10% ให้เริ่มยาลดน้ำตาล 2 ชนิด

 

 

 

 

 

 

การรักษาเบาหวานด้วยยา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง

อ้างอิง

https://www.rxlist.com/oral_diabetes_medications/drugs-condition.htm

https://www.healthline.com/health/diabetes/medications-list

https://my.clevelandclinic.org/health/articles/12070-oral-diabetes-medications

https://www.diabetes.org/diabetes/medication-management/oral-medication

https://www.webmd.com/diabetes/oral-medicine-pills-treat-diabetes

 

 

กลับหน้าแรก