การป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ระดับน้ำตาลที่สูงติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำลายหลอดเลือด และอวัยวะ เช่น หัวใจ ไต สมอง การควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติรวมทั้งการคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายการคุมไขมันในเลือด โดยสรุปคือการคุมโรคเบาหวานที่ดีสามารถป้องกันหรือชลอการเกิดโรคแทรกซ้อนได้

ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนจะมีโรคแทรกซ้อนหรือไม่

เป็นการยากที่จะบอกว่าผู้ป่วยคนไหนจะมีโรคแทรกซ้อน บางท่านอาจมีโรคแทรกซ้อนหลายอวัยวะ บางท่านอาจจะยังไม่มีโรคแทรกซ้อนเลยก็ได้ ถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่เป็นเบาหวานท่านและยังไม่มีโรคแทรกซ้อนท่านควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีที่สุด ออกกำลังกาย ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

การป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

การป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับขา ท่านต้องรักษาสุขภาพเท้าให้ดีอยู่เสมอ ตรวจเท้า และบริหารเท้าทุกวัน

การป้องกันโรคแทรกซ้อนทางตาให้ตรวจตาทุกปีโดยจักษุแพทย์

กิจกรรมที่ต้องทำทุกวันเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน

ผลไม้ รับประทานอาหารตามแผน รับประทานอาหารแต่ละมือให้ตรงเวลารวมทั้งอาหารว่าง และอาหารประจำ และที่สำคัญปริมาณอาหารควรจะคงที่ และไม่ควรงดอาหารมือใดมือหนึ่ง หลีกเลี่ยงไขมัน รักษาน้ำหนักมิให้ดัชนีมวลกายเกิน 23
การเดิน  เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำรงชีวิต เช่น ทำสวนเพิ่มขึ้น ทำความสะอาดบ้านเพิ่ม ใช้เดินหรือขี่จักรยานแทนการนั่งรถ เดินออกกำลังวันละ 30 นาทีสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วัน
ยา รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัดควรรับประทานเวลาเดียวกันทุกวัน
เครื่องเจาะน้ำตาล ตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลทุกวัน จดผลลงในสมุด ให้ปรึกษาแพทย์หากระดับน้ำตาลสูงติดต่อกัน 2-3 วัน
การตรวจเท้า ตรวจเท้าท่านทุกวัน
ทำความสะอาดฟัน ทำความสะอาดฟันด้วยแปรง และไหมขัดฟันทุกวัน ควรตรวจฟันกับทันตแพทย์เป็นประจำ
ี่งดบุหรี่

การสูบบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดที่เป็นเลี้ยงไต หัวใจ และขาลดลงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามอวัยวะต่างๆ ปรึกษาแพทย์ของท่านในการเลิกบุหรี่หากท่านเลิกด้วยตัวเองไม่ได้

สิ่งที่แพทย์ควรตรวจทุกครั้งที่ท่านได้พบ

เมื่อท่านพบแพทย์ท่านควรจะแสดงผลการตรวจเลือดรวมทั้งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อปรึกษาหาทางแก้ไข ตารางข้างล่างจะเป็นการแสดงการตรวจที่แพทย์ควรจะทำทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาพบ รวมทั้งแสดงค่าเป้าหมายของการควบคุมที่ดี

ระดับน้ำตาลที่ดี

  • ให้แสดงผลน้ำตาลที่ท่านเจาะให้แพทย์ดู
  • แจ้งแพทย์ว่าระดับน้ำตาลที่ผ่านมามีสูงไปหรือต่ำไปกี่ครั้ง
น้ำตาลสะสมต้องดี 
  • น้ำตาลสะสมไม่ควรเกิน 7%
น้ำหนัก

  • ปรึกษาแพทย์ว่าน้ำหนักที่ดีควรเป็นเท่าใดโดยทั่วไปแนะนำให้ดัชนีมวลกายไม่เกิน 23
  • วิธีที่จะทำให้น้ำหนักลดทำอย่างไร

ความดันโลหิต

  • ความดันที่เหมาะสมคือ 130/85 มืลิเมตรปรอท
  • ปรึกษาแพทย์ว่าจะลดความดันสู่ปกติได้อย่างไร
ปรับระดับไขมันที่เหมาะสม
  •  LDLน้อยกว่า 100 มก.%
  • HDLมากกว่า 45 มก.%
  • Triglyceride น้อยกว่า 200มก.%
การรับประทานยา

  • แจ้งแพทย์ถึงปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานยา
เกี่ยวกับเท้า
  • ให้แพทย์ตรวจเท้าทุกครั้งที่นัด
แผนการออกกำลังกาย
  • ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม
การรับประทานอาหาร
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประเภทอาหารที่รับประทานได้ ปริมาณ และเวลาที่รับประทาน
การสูบบุหรี่
  • ควรจะเลิกบุหรี่โดยเด็ดขาดหากเลิกไม่ได้ให้ปรึกษาแพทย์
โรคแทรกซ้อน  

โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน | การป้องกันโรคแทรกซ้อน | การควบคุมที่ดี | โรคแทรกซ้อนตามอวัยวะ


โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง โรคไต  โรคตา  โรคปลายประสาทอักเสบ โรคเบาหวานกับเท้า

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน | อาการโรคเบาหวานการวินิจฉัย | การคัดกรอง | ชนิดของเบาหวาน | หลักการรักษา | โรคแทรกซ้อน | เป้าหมายในการควบคุมเบาหวาน | การติดตามและการประเมิน | การป้องกันโรคเบาหวาน

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน