น้ำตาลในเลือดต่ำ [Hypoglycemia]

ะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อน ที่น้ำตาลในเลือดต่ำโดยทั่วไปถือว่าต่ำกว่า 70 mg% โดยที่มีอาการแสดงของน้ำตาลในเลือดต่ำ สาเหตุอาจจะเกิดจากรับประทานยามาก ไตเสื่อมหรือไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลา

เมื่อไรจึงจะเรียกว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ Hypoglycemia

การจะวินิจฉัยว่าน้ำตาลในเลือดต่ำอาศัยเกณฑ์ 3 ประการได้แก่

  • พลาสม่ากลูโคสต่ำกว่า 70 มก%
  • มีอาการและอาการแสดงของน้ำตาลต่ำ
  • อาการหายไปเมื่อได้รับน้ำตาลหรือกลูโคส

ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 

อาการและอาการแสดงของน้ำตาลในเลือดต่ำแบ่งออกเป็นสองประเภท

  1. อาการทางออโตโนมิค ได้อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิคสูง มือสั่นกระสับกระส่าย คลื่นไส้ เหงื่อออก ชา รู้สึกหิว หากเกิดอาการดังกล่าวให้หาน้ำผลไม้หรือนมหนึ่งกล่องทันที
  2. อาการสมองขาดกลูโคส เมื่อสมองขาดน้ำตาลจะมีอาการอ่อนเพลีย ผิวหนังจะเย็นและชื้น อุณหภูมิร่างกายต่ำ มึนงง ปวดศีรษะ ความจำลดลง สับสน ปฏิกิริยาตอบสนองลดลง ตาพร่า พูดช้า ง่วงซึม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยน บางคนมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกคล้ายหลอดเลือดสมอง หากอาการเป็นมากจะชักและหมดสติได้

การประเมินความรุนแรงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ความรุนแรงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับตามอาการและอาการแสดงที่ปรากฎ และความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง ได้แก่

  1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับไม่รุนแรง Mild hypoglycemia หมายถึงผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแต่ไม่มีอาการออโตโนิก เช่นอาการใจสั่น ผู้ป่วยสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
  2. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับปานกลาง Moderate hypoglycemia หมายถึงภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีอาการออโตโนมิค และอาการสมองขาดกลูโคสเกิดขึ้นเล็กน้อยหรือปานกลาง ผู้ป่วยสามารถแก้ไขด้วยตนเอง
  3. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง Severe hypoglycemia ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองต้องอาศัยผู้อื่นช่วยเหลือ หรือรุนแรงมากจนหมดสติหรือชัก

ใครที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • รายที่ได้รับการฉีดอินซูลิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการงดเว้นอาหาร หรือภายหลังการออกกำลังกาย
  • กินยา sulfonylurea โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว
  • การงดเว้นอาหาร หรือกินอาหารน้อยลง กินผิดเวลา หรือมีการปรับชนิดของอาหารทำให้มีแป้งลดลง
  • ออกกำลังเพิ่มมากขึ้น
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้ป่วยสูงอายุ
  • เป็นโรคตับ
  • ร่างกายไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น เช่น น้ำหนักลด ออกกำลังเพิ่มมากขึ้น
  • เคยเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง
  • เคยเกิดน้ำตาลต่ำแต่ไม่มีอาการ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นโรคไต อาจจะมีการคั่งของยา
  • การได้รับยาไม่เหมาะสม ชนิด ขนาด วิธีใช้ไม่เหมาะสม
  • ได้รับยา beta-adrenergic blocker

การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลต่ำ

ถ้าหากมีอาการดังกล่าวให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหากพบว่าต่ำกว่า 50มก.ก็วินิจฉัยได้

การป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ

  • ต้องตรวจหาระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา การกินอาหารให้ตรงเวลา รวมทั้งการออกกำลังกาย
  • มีความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเบื้องต้น

การรักษาภาวะน้ำตาลต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับไม่รุนแรงและระดับปานกลาง

ภาวะนี้อาจจะเกิดที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล หากเกิดอาการของน้ำตาลต่ำและมีเครื่องเจาะเลือดก็ให้เจาะเลือดถ้าผลน้ำตาลในเลือดต่ำก็ให้ดำเนินการดังนี้

  1. ให้รับประทานอาหารที่มีแป้ง 15 กรัม เช่นน้ำส้มคั้นหนึ่งแก้ว น้ำอัดลม 180 ซีซี น้ำผึ้งสามช้อนชา ขนมปังหนึ่งแผ่น นมสดหนึ่งกล่อง กล้วยหนึ่งผล โจ๊กหรือข้าวต้มครึ่งถ้วย อาการมักจะดีขึ้นหลังได้รับอาหารดังกล่าว
  2. หลังจากรับประทานอาหารดังกล่าวไปแล้ว 15 นาทีให้เจาะเลือด
  3. หากน้ำตาลยังต่ำกว่า 70 มก%ก็ให้รับประทานอาหารดังกล่าวเบื้องต้นอีกชุดหนึ่ง
  4. หากอาการดีขึ้นระดับน้ำตาลมากกว่า80 มก%ก็ให้รับประทานอาหารตามปกติ หากต้องรออาหารปกตินานเกินหนึ่งชั่วโมงก็ให้อาหารว่างรับประทานไปก่อน

สำหรับท่านที่ไม่มีเครื่องเจาะน้ำตาลแนะนำให้ท่านรับประทานขนมปัง หรือนมหนึ่งกล่องรอสิบถึงสิบห้านาทีหากไม่หายให้รีบพบแพทย์

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรง

สำหรับผู้ป่วยที่พอจะรู้สึกตัวก็ให้ดื่มน้ำหวานก่อนนำส่งโรงพยาบาล หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวก็แนะนำว่าไม่ควรที่จะให้ดื่มหรือรับประทานอาหารเพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักและเกิดปอดบวมได้

การป้องกัน

  • กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่นผู้ป่วยสูงอายุ มีโรคไตโรคตับร่วมด้วย การรับประทานยา อาหารควรจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรจะมีเครื่องเจาะน้ำตาลเพื่อตรวจน้ำตาล
  • ผู้ป่วยเบาหวานทุกท่านควรที่จะเจาะเลือดวัดระดับกลูโคสด้วยตัวเองเพื่อให้การควบคุมเบาหวานได้ดี
  • แนะนำคนใกล้ชิดให้ทราบอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น
  • ควบคุมอาหารตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และจำกัดอาหารแต่ละมื้อให้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกนไป
  • รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์สั่ง
  • หากออกกำลังกายมากกว่าครึ่งชั่วโมงต้องได้รับอาหารว่างเสริม เช่น นมหนึ่งแก้ว หรือขนมแครกเกอร์ 1 แผ่นก่อนออกกำลัง
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  • หากต้องรับยาอื่นต้องปรึกษาแพทย์
  • แจ้งเพื่อนร่วมงานและครอบครัวว่าท่านเป็นเบาหวานพร้อมทั้งวิธีช่วยเหลือเมื่อท่านเกิดอาการ
  • ควรมีลูกอมพกติดตัว
  • พกบัตรเบาหวานประจำตัว

ภาวะคีโตซีส | ภาวะหมดสติจากน้ำตาลสูง | ภาวะน้ำตาลต่ำ

ภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยเบาหวาน  

เพิ่มเพื่อน

 

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง โรคไต  โรคตา  โรคปลายประสาทอักเสบ โรคเบาหวานกับเท้า