การผ่าตัดมะเร็งเต้านม

การผ่าตัด

การผ่าตัดมะเร็งเต้านม

การผ่าตัดเต้านมมี 2 วิธีได้แก่

  1. Breast conserving surgery
  2. Mastectomy

1Breast conserving surgery

การผ่าตัดเอาเนื้อมะเร็งและเนื้อเต้านมรอบๆมะเร็งออกเรียกว่า Lumpectomy บางครั้งหากเป็นมากต้องตัดทั้งเต้านม

Lumpectomy

คือการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก และอาจจะมีเนื้อดีบางส่วนออก และต่อมน้ำเหลือง

Segmental Lumpectomy

แพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้องอก เนื้อเต้านมบางส่วน และกล้ามเนื้อใต้เนื้องอก และต่อมน้ำเหลือง

การผ่าตัดด้วยวิธีนี้มักจะต้องทำการให้รังสีรักษา หลังการผ่าตัด การผ่าตัดวิธีนี้เป็นที่นิยม แต่ก็มีกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แนะนำให้ผ่าตัดวิธีนี้ ได้แก่กลุ่ม

  • ผู้ที่เคยได้รับรังสีที่หน้าอกก่อนการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกสองก้อน
  • ผู้ป่วยที่คิดว่าต้องผ่าตัดเอามะเร็งออกไม่หมด หากผ่าตัดด้วยวิธีนี้
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนัง เช่นโรคหนังแข็ง scleroma
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีขนาดของมะเร็งมากกว่า 5 ซม

โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดจะต้องตามด้วยการฉายรังสี แต่ก็มีข้อยกเว้นไม่ต้องฉายรังสีคือ

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี
  • ขนาดก้อนเล็กกว่า 2 ซม และสามารถผ่าตัดออกได้หมด
  • มะเร็งยังไม่แพร่ไปต่อมน้ำเหลือง
  • ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมน
  • มะเร็งนั้นมี hormone receptor

 

การผ่าตัดแบบ Mastectomy

กลับหน้าเดิม  

มะเร็งเต้านม เนื้องอกเต้านม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม การคัดกรองมะเร็งเต้านม อาการของมะเร็งเต้านม การประเมินก่อนการรักษา ระยะของมะเร็งเต้านม การรักษามะเร็งเต้านม