การผ่าตัดเต้านม Mastectomy

2Mastectomyคือการผ่าตัดเอา เต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และกล้ามเนท้อที่หน้ออกออก ซึ่งมีวิธีการผ่าตัดได้หลายชนิด

  • simple mastectomy เป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะเต้านมออกหมดแต่ต่อมน้ำเหลือง แต่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ
  • Modife radical mastectomy ผ่าตัดเอาเต้านมและต่อมน้ำเหลือง และกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนออก
  • Radical mastectomy ผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองรักแร้ทั้งหมด และกล้ามเนื้อหน้าอกออกหมด

ดูแผนภูมิการผ่าตัด

การผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง

simple mastectomy

 

Modify radical mastectomy

Radical mastectomy

 

สมัยก่อนแพทย์มีความเชื่อว่า การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกให้มากที่สุด จะลดโอกาศการแพร่กระจายของมะเร็ง และเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอด แต่ปัจจุบันได้พบความจริงแล้วว่า การตัดต่อมน้ำเหลืองออกหมด ไม่ได้ลดอัตราการแพร่กระจายของมะเร็ง แต่การต่อมน้ำเหลืองไปตรวจก็มีประโยชน์ ที่จะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง และยังมีประโยชน์ในการเลือกยาที่จะใช้รักษา

การตัดต่อมน้ำเหลืองตรวจมีสองวิธีคือ sentinel lymph node biopsy คือการตัดเอาต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับมะเร็ง เพื่อส่งตรวจหามะเร็ง หากไม่พบเซลล์มะเร็งก็ไม่ต้องผ่าต่อ แต่หากพบเซลล์มะเร็งก็จะผ่าตัดแบบ axicillary lymphnode dissection คือตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด

ผลข้างเคียงของการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง

  • ชาบริเวณผิวหนังแขนด้านใน
  • การเคลื่อนไหวของแขนและไหล่ติดขัด
  • บวมบริเวณแขนและเต้านมที่เรียกว่า lymphedema

วิธีป้องกัน lymphedema

  • ไม่เจาะเลือด หรือให้น้ำเกลือแขนข้างที่จะผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง
  • ไม่วัดความดันโลหิตแขยข้างดังกล่าว
  • หากรู้สึกว่าแขนบวมให้บอกแพทย์
  • ใส่เสื้อเฉพาะที่รัดแขน
  • เมื่อจะทำสวนให้ใส่ถุงมือ

การเลือกวิธีผ่าตัดว่าจะทำ Lumpectomy หรือ Mastectomy

ข้อดีของการผ่าตัดแบบ Lumpectomy คือเต้านมยังคงอยู่ แต่ข้อเสียคือต้องเสียเวลามาทำงานรักษาด้วยรังสี แต่การผ่าตัดแบบ mastectomy ก็อาจจะต้องให้รังสีรักษาด้วยในบางราย การเลือกวิธีรักษาขึ้นกับปัจจัยต่างๆดังนี้

  • ผู้ป่วยยังต้องการที่จะมีเต้านมหรือไม่
  • ต้องเสียเวลาเพื่อทำการรักษาโดยการฉายแสงหรือไม่
  • ต้องการทำผ่าตัดตกแต่งหรือไม่
  • การผ่าตัดเต้านมทั้งหมดเพื่อตัดการเจริญเติบโตหรือการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง

แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อห้ามหรือไม่ควรผ่าชนิด Lumpectomy และการฉายแสงในผู้ป่วยดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่เคยรักษาด้วยการฉายแสงที่ทรวงอกมาก่อน
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์
  • เป็นมะเร็งเต้านมหลายก้อน
  • ผู้ป่วยเป็นโรคผิวหนังแข็ง
  • ก้อนมะเร็งมีขนาดมากว่า 5 ซมและมีขนาดไม่เล็กแม้ว่าจะให้เคมีหรือฮอร์โมน
  • มีหินปูนเกาะที่เต้านม

มะเร็งเต้านม การผ่าตัดแบบ concervative

มะเร็งเต้านม เนื้องอกเต้านม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม การคัดกรองมะเร็งเต้านม อาการของมะเร็งเต้านม การประเมินก่อนการรักษา ระยะของมะเร็งเต้านม การรักษามะเร็งเต้านม