หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ภาวะกรดไหลย้อน และโรคหอบหืด


จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีความสัมพันธ์ของภาวะกรดไหลย้อนกับโรคปอดหลายชนิด เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง aspiration pneumonia, interstitial pulmonary fibrosis, bronchiectasis
พบว่าผู้ป่วยหอบหืด มักเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ 34-89%
อย่างไรก็ตาม ความชุกของโรคหอบหืดที่สัมพันธ์กับภาวะกรดไหลย้อนยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจน

อาการทางคลินิก

ประวัติเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยภาวะกรดไหลย้อนในผู้ป่วยหอบหืด อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่มีประวัติอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดไหลย้อนที่ชัดเจน โดยอาการที่พบได้บ่อย เช่น ไอกลางคืน หอบหืด กระตุ้นมากขึ้นในช่วงทานอาหารมื้อหนัก หรือดื่มสุรา โดยทั่วไปจะคิดถึงภาวะกรดไหลย้อนว่าเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด ก็ต่อเมื่อ



การตรวจเพิ่มเติมทางหลอดอาหาร

การรักษา

ถ้าในกลุ่มที่พิสูจน์ได้ชัดว่ากลไกการเกิดหอบหืดเป็นจากภาวะกรดไหลย้อนที่มากระตุ้น การให้ยาลดกรดน่าจะมีประโยชน์ในการรักษา
ในระยะหลัง ที่มีการใช้ยากลุ่ม proton pump inhibitor มากขึ้น พบว่าการลดกรดลงอย่างมากอาจให้ผลการรักษาที่ดีไม่ต่างจากการผ่าตัด Richter ศึกษาผู้ป่วยหอบหืด 30 รายพบว่าการให้ยา Omeprazole เพื่อลดการหลั่งกรดอย่างเคร่งครัด สามารถควบคุมอาการหอบหืดได้ 73% แต่การติดตามระยะยาวในแง่การกลับเป็นซ้ำ ยังต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมที่นานกว่านี้

กรดไหลย้อน อาการทางระบบหูคอจมูก อาการหอบหืด อาการแน่นหน้าอก อาการนอนกรน

 

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน