ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย dyspepsia

ลักษณะทางคลินิคของผู้ป่วย dyspepsia ค่อนข้างจะมีข้อจำกัดในการแยกผู้ป่วย dyspepsia ที่มีสาเหตุ กับ dyspepsia ที่ไม่ทราบสาเหตุ ในการดูแลผู้ป่วย dyspepsia ที่ยังไม่เคยตรวจหาสาเหตุของอาการมาก่อน สิ่งที่แพทย์ผู้ดูแลต้องตัดสินใจ คือ ควรจะตรวจหาสาเหตุของอาการ dyspepsia ในผู้ป่วยคนนั้นหรือไม่ หรือจะทดลองให้ยารักษาไปก่อน ในขั้นตอนนี้สิ่งที่แพทย์จะต้องทำคือ ตัดสินว่าผู้ป่วยคนนั้นอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของอาการ dyspepsia หรือไม่ เช่น มะเร็ง หรือ โรคกระเพาะที่มีโรคแทรกซ้อน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตรวจหาสาเหตุทันที

อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย dyspepsia

อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยอาหารไม่ย่อย dyspepsia ที่ช่วยบ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีสาเหตุของอาการจากโรคร้ายแรง ได้แก่

ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้บ่งว่าผู้ป่วยควรได้รับการส่องกล้องภายในทางเดินอาหารส่วนบน เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อันตรายได้แกโรคกระเพาะที่มีโรคแทรกซ้อน หรือมะเร็งในทางเดินอาหารส่วนบน
อาการต่าง ๆ ของ dyspepsia ไม่สามารถแยกผู้ป่วยที่เป็นแผลลำไส้เล็กส่วนต้น แผลที่กระเพาะอาหาร

ในทางปฏิบัติสามารถแบ่งผู้ป่วยตามลักษณะของกลุ่มอาการเป็น



  • อาการแน่นท้องเหมือนแผลในกระเพาะ ulcer-like dyspepsia โดยผู้ป่วย ulcer like dyspepsia มีอาการปวดท้องเป็นอาการเด่น สามารถบอกตำแหน่งที่ปวดท้องได้ชัดเจน อาการมักเกิดตอนกลางคืน หรือเวลาท้องว่าง อาการมักดีขึ้นเมื่อทานอาหาร
  • อาการแน่นท้องที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ dysmotility like dyspepsia ผู้ป่วย dysmotility like dyspepsia จะมีอาการอืดแน่นท้องหลังอาหารเป็นอาการเด่น โดยไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มีอาการได้ชัดเจน ผู้ป่วยมักบ่นว่ามีลมหรือแก๊สมาก (bloating) บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน
  • อาการเหมือนกรดไหลย้อน หรือ reflux like dyspepsia ส่วน reflux like dyspepsia มักมีอาการแสบร้อนหน้าอก (heartburn) หรือเรอเปรี้ยว (acid regurgitation) เป็นอาการเด่นร่วมกับอาการอื่น ๆ ของ dyspepsia เช่น อืดแน่นท้อง, มีแก๊สมาก, อิ่มง่าย, ปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียน

แต่การแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่นี้ พบว่าไม่มีประโยชน์ในการแยกผู้ป่วย NUD ออกจาก organic disease เช่น แผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นได้ แต่พบว่าในผู้ป่วยที่เป็น reflux like dyspepsia จะตอบสนองต่อการให้ยาลดกรดได้ดีถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วย ดังนั้นการแยกผู้ป่วยออกเป็น reflux like dyspepsia จะช่วยบอกแนวทางการให้ยาได้ว่าควรใช้ยาลดกรดเป็นตัวแรกผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงมาก หรือมีอาการร้าวทะลุไปหลังควรคิดถึง complicated peptic ulcer เช่น perforation หรือ penetration, นิ่วในทางเดินน้ำดี, ตับอ่อนอักเสบ, หรือ aortic aneurysm, อาการปวดท้องมากที่ตำแหน่ง RUQ พบได้น้อยใน peptic ulcer disease หรือ non-ulcer dyspepsia ควรคิดถึงโรคของทางเดินน้ำดี ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 45 ปี ที่มีอาการของ dyspepsia ร่วมกับอาการปวดท้อง แน่นอืดท้องบริเวณท้องน้อย และสัมพันธ์กับความผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระควรคิดถึงภาวะ initable bowel syndrome

สาเหตุอาหารไม่ย่อย การวินิจฉัยอาหารไม่ย่อย